สืบเนื่องจากบทความที่แล้ว เรื่อง Paradox of Thrift ที่ว่า
พอเศรษฐกิจแย่ มัน make sense ที่เราจะต้องอดออม
จะเห็นว่า Economic Regression leads to less spending, less investment, and more saving.
ในที่นี้ Regression (ภาวะเศรษฐกิจถดถอย) เป็นเหตุ และ saving (การประหยัดอดออม) เป็นผลของมัน
แต่สำหรับ บทความนี้
ผมจะบอกว่า แล้วถ้าเศรษฐกิจยังดีอยู่
แต่ประชาชน เริ่มเกิดความกลัวว่ามันจะแย่ล่ะ
มันจะเกิดอะไรขึ้น
คือผมจะบอกว่า เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นตลอดเวลาครับ
“We are what we see” หรือ “เราจะเป็นอย่างที่เราคิดว่าเราจะเป็น”
ถ้าประชาชนคิดว่าเศรษฐกิจจะแย่ แน่นอน เค้าจะเริ่มประหยัดอดออม
และ แน่นอนเช่นกัน มันนำไปสู่การที่เศรษฐกิจจะแย่ลงจริงๆในที่สุด
ที่พูดมาคือเรื่องเชิงเศรษฐศาสตร์ครับ มันเป็นกลไกของมัน
แต่ผมจะบอกว่า แนวคิดเดียวกันนี้ก็คล้ายคลึงกับ self-fulfilling prophecy ซึ่งเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาเช่นเดียวกัน
มาดูนิยามใน Wikipedia นะครับ
“A self-fulfilling prophecy is a prediction that directly or indirectly causes itself to become true, by the very terms of the prophecy itself, due to positive feedback between belief and behavior.”
แปลไทย ก็คือ “คำทำนายหนึ่งๆ จะมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่จะทำให้คำทำนายนั้นๆเป็นจริง”
ยกตัวอย่างใกล้ตัวที่สุดเลยก็คือเรื่องดูดวงครับ
สมมติว่า หมอดูทำนายว่า
คุณมีโอกาสจะพบเนื้อคู่ ในหนึ่งปีข้างหน้านี้ และถ้าไม่พบในหนึ่งปีข้างหน้า ดวงของคุณคือจะเป็นโสดไปตลอดชีวิต
พอเห็นภาพเลยใช่มั้ยครับ
ในช่วงหนึ่งปีจากนี้ ผมรับประกันเลยว่า
สายตาคุณจะสอดส่องหาใครซักคนที่จะมาเป็นเนื้อคู่อยู่ตลอดเวลา
การพบปะพูดคุยกับคนที่เพิ่งพบกันครั้งแรกของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เพราะ ลึกๆในใจคุณก็แอบคิดว่า เอ๊ะ หรือจะเป็นเค้า…
#เผื่อจะเป็นคนนี้ ที่เราเฝ้าคอยไขว่คว้า ที่เรา คอยมองหา #แหวน ฐิติมา สุตสุนทร
สุดท้าย ถ้าคุณมองหาตลอด คุณก็คงจะพบเนื้อคู่ได้จริงๆ
นั่นแหละครับ ผมถึงเป็นคนที่ไม่เคยดูดวงเลย
ไม่ใช่ว่าผมไม่เชื่อนะครับ แต่เป็นเพราะ “ผมกลัวว่าผมจะเชื่อ”
(ไม่ว่าดีหรือร้ายแค่ไหน ผมขอทำด้วยตัวเองดีกว่าครับ แม่หมอไม่ต้องชี้นำผมหรอกครับ)
แล้วเพื่อนๆล่ะครับ เคยมั้ยกับอาการ self-fulling prophecy มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ